ทักษะการพูด เป็นคนพูดไม่เก่ง ก็ไม่ใช่ปัญหา ?! ทักษะการสื่อสารที่ดี มีอะไรบ้างที่ควรทำ

ทักษะการพูด

ทักษะการพูด จะเริ่มพูดคุย กับคนอื่นยังไงดี ? ให้บทสนทนา ผ่านไปได้ด้วยดี

ทักษะการพูด เชื่อว่าหลายคน ก็จะนึกถึง คนที่พูดเก่ง ๆ ส่วนคนที่ค่อนข้างเงียบ ๆ หรือเก็บตัวก็จะถูกมอง ว่าพูดไม่เก่ง ไม่มีทักษะการพูด ไปโดยอัตโนมัติ แต่แท้จริงแล้ว คนที่มี ทักษะการพูดที่ดี ไม่ใช่แค่ว่าพูดเก่ง พูดเยอะเท่านั้น เพราะบางครั้งก็กลับ ไม่มีประโยชน์เลย

ฉะนั้นคนที่พูดไม่เก่ง ไม่ต้องน้อยใจ หรือว่ากังวลไป เราจะพาไปดูกัน ว่าจะมีวิธีการเตรียมตัว เพิ่มทักษะ หรือว่าเทคนิคอะไรบ้าง ? ที่นำไปฝึกฝน และปรับใช้ได้ ในการเข้าสังคม ครั้งต่อไป ลุย!

ทักษะการพูด ทักษะการพูดเบื้องต้น มีอะไรบ้าง ? ที่ผู้พูดควรรู้

ทักษะการพูด หมายถึง การสื่อสารผ่าน ทั้งวัจนภาษา และอวัจนภาษา ให้คู่สื่อสาร ของเราเข้าใจ ซึ่งผู้เขียนก็เป็นคน ที่การสื่อสาร ไม่ค่อยดีเช่นกัน เอาเป็นว่าเรา มาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า หวังว่าเราจะได้ ฝึกฝนด้วยกันนะ^^

การเป็นผู้ฟังที่ดี

สิ่งที่ง่ายที่สุด ก่อนที่เราจะ เป็นผู้พูดที่ดี เราควรต้องเป็น ผู้ฟังที่ดีก่อน ซึ่งเชื่อว่าเหล่าคน พูดน้อยหลายคน มีสกิลนี้พกติดตัว กันอยู่แล้วก็ว่าได้ การฟังที่ดี ไม่ใช่แค่การเงียบ เพื่อฟังเท่านั้น แต่ยังหมายถึง การทำความเข้าใจ และไม่คิดถึง แต่เรื่องที่ตัวเอง อยากพูดอย่างเดียว ในขณะที่ฟังอยู่

ผู้ฟังที่ดี มักจะมีแต่คน อยากพูดคุยด้วยเสมอ 🙂

ทักษะการพูด

ลองชวนพนักงาน ตามร้านอาหาร หรือร้านค้าพูดคุยดู

อีกสิ่งหนึ่งที่ ทักษะการพูด สามารถลองทำได้ง่าย ๆ และไม่ต้องคิดมากเลย ใครที่พูดไม่เก่ง จะทักทายเพียงประโยคสั้น ๆ ก็ไม่เสียหาย และแถมยังเป็น การเพิ่มความมั่นใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับเราได้ด้วยนะ

และจะดีมาก ๆ ถ้าวันนั้นเราอารมณ์ดี เช่น อาจจะเป็นประโยคว่า วันนี้ขายดีไหมครับ ? พี่ชงกาแฟอร่อยมากเลยค่ะ, ขอบคุณนะคะ แค่ประโยคสั้น ๆ แบบนี้ รับรองว่าจะได้รอยยิ้ม หรือบทสนทนา จากฝ่ายตรงข้าม กลับมาแน่นอน ครั้งแรก ๆ คงยาก ประหม่าสักหน่อย แต่เชื่อสิว่า พอคุณเริ่มอายุมากขึ้น เรื่องพวกนี้จะง่ายขึ้นตาม ฮ่า ๆ

อีกสิ่งหนึ่งที่เป็น ‘อุปสรรค’ สำหรับคนสื่อสาร ไม่เก่งก็คือ “คิดนะแต่ไม่พูด..”

วิธีพัฒนาทักษะการพูด สิ่งที่คุณควรทำ ก็คือกล้าพูด ในสิ่งที่คิด ออกมาให้ได้ พูดง่ายแต่ทำยาก จะพูดอะไรก็กลัวผิด กลัวคนที่ฟัง ไม่ถูกใจหรือเปล่า ? เชื่อสิว่าการที่คุณ สามารถพูดอะไรก็ได้ เพียงแค่ไม่ใช่การด่า หรือทำให้คนอื่น รู้สึกไม่ดี พูดได้หมดเลย ลองดูนะ!

ถ้าไม่พูดก็คงไม่รู้ ว่าฝ่ายตรงข้าม สนใจเรื่องเดียวกัน กับเราหรือเปล่า อาจจะเป็นจุดเริ่มต้น บทสนทนาดี ๆ หรือได้เพื่อนใหม่ ของคุณก็ได้

วิธีพัฒนาทักษะการพูด

หลังจากที่เรา ฟังคนอื่นมาเยอะแล้ว เราก็สามารถนำ สิ่งเหล่านั้นมา ประยุกต์ใช้เอง ได้ด้วยนะ! แล้วควรทำยังไง ?

ใครที่เป็นคนขี้อาย ไม่ค่อยกล้าพูด แต่จริง ๆ แล้วกับคนใกล้ตัว มีความขี้เล่น ตลกเฮฮาอยู่บ้าง สิ่งที่สามารถ นำมาปรับใช้ได้เลย! นั่นก็คือการจดจำ เหล่าคนที่ตลก ตามช่องทางออนไลน์ หรือทีวีที่ เราได้ดูมา และนำมาปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็น คำพูด มุกที่ใช้เล่น สีหน้าแววตา กระทั่งน้ำเสียง

ใครที่เป็นมือใหม่ วิธีพัฒนาทักษะการพูด เราอาจจะต้องใช้ ความกล้าและการฝึกฝนสักหน่อย แต่ทั้งนี้ อาจจะต้องระวัง คำพูดที่เสียดสี หรือคำพูดเชิงลบด้วยนะ สิ่งที่เราต้อง เตือนตัวเองเสมอ ก็คือกาลเทศะ และนิสัยของฝ่ายตรงข้าม ที่เราสนทนาด้วย

สำหรับใครที่ จำเป็นต้องพูด ในที่สาธารณะ

มีหลายอาชีพเลย ในโลกใบนี้ ที่ต้องมีสกิล ‘เรื่องการพูดเป็นพิเศษ’ ไม่ว่าจะเป็น เซลล์ขายสินค้า พิธีกร แม่ค้า นักธุรกิจ พนักงานบริการ หรือแม้แต่นักร้อง และอีกหลายอาชีพ มากมายก่ายกอง~

ซึ่งคนที่จำเป็น จะต้องใช้ ทักษะการพูด เหล่านั้น อาจจะต้องเข้าคอร์ส เรียนฝึกการพูด รวมถึงและพัฒนา ด้านบุคลิกภาพด้วย เวลาไม่มั่นใจ แน่นอนว่าผู้ฟัง รับรู้ได้แน่นอน การที่ไปเรียน เราจะได้รู้ทั้งจุดแข็ง และจุดอ่อนตัวเอง แถมยังได้ผู้เชี่ยวชาญ ไว้ปรึกษาด้วยนะ เรียกว่าเป็นสิ่งที่ดี ไม่มีอะไรเสียหายเลยล่ะ

องค์ประกอบของทักษะการพูด

อวัจนภาษา ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่ง ที่สำคัญมากเช่นกัน

นอกจากวัจนภาษา ที่ออกมาจาก ปากของเราแล้ว ท่าทางของเรา ที่เรียกว่าเป็น องค์ประกอบของทักษะการพูด อีกสิ่งหนึ่งที่ สำคัญเช่นกันนะ จะมีอะไรบ้าง ? ทั้งสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ เราไปดูกัน

  • การสบตา ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ ยังใช้ได้เสมอ เรารู้ว่าไม่ง่าย มีเทคนิคเล็กน้อย ให้ลองทำตามดู คือให้มองตา ของคู่สนทนาทีละข้าง เวลาที่เราพูด หรือเปลี่ยนไปเป็น การมองระหว่างคิ้ว แบบสลับกันไป แต่อย่าจ้องจน ทำให้อีกฝ่าย รู้สึกอึดอัดล่ะ
  • ท่าทางที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เช่น การกอดอก เป็นท่าทางที่ทำให้ รู้สึกถึงการไม่เปิดรับ หรือการข่มอีกฝ่าย แต่ทั้งนี้ในบางกรณี ก็สามารถทำได้ หากเข้ากับบทสนทนา หรือคู่สนทนาของคุณ อีกท่าทางหนึ่ง ที่ไม่ควรทำเช่นกัน คือการชี้นิ้วใส่ คู่สนทนาของเรา รวมถึงน้ำเสียง
  • คำพูดและท่าทาง ควรไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อความสอดคล้อง ในสิ่งที่ต้องการจะสื่อ

จริง ๆ แล้วเรียกว่าเป็น อวัจนภาษาสากลเลยล่ะ ไม่ใช่แค่การใช้กับ ทักษะการพูด ภาษาไทย เท่านั้น

สรุปทักษะการพูด สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่เราต้องจดจำ เอาไว้ก็คือ ความกล้าที่จะพูด และการตั้งสติค่อย ๆ สื่อสารออกไป รวมถึงการอ้าปาก พูดอย่างชัดถ้อยชัดคำ เรามาลองฝึกฝน ไปด้วยกันนะ! ถึงวันนี้จะยังทำไม่ได้ รู้สึกยากเกินไป แต่ถ้าพยายาม และลองตั้งใจดู เชื่อว่าสักวัน เราก็สามารถทำได้ ดีขึ้นแน่นอน

นอกจากทักษะ การพูดคุยแบบนี้แล้ว เว็บไซต์ก็ยังมี ทักษะด้านอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ติดตามได้ในหน้าหมวดหมู่ เพิ่มทักษะของเว็บไซต์

เรียบเรียงโดย M.Varin